วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                        การศึกษาเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ครูจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งที่จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม การสอนของครูเป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถ  ตลอดจนมีเจตคติที่ดีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542  ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการการจัดการศึกษา ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญหา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ความสุข การจัดกระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้
สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่มีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ใน
ทุกวิชา
                        การสอนวิชา การจัดการฟาร์ม ซึ่งมีจุดประสงค์ให้นักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจ ด้านการจัดการฟาร์ม สามารถนำความรู้ด้านการจัดการฟาร์มไปใช้ในการตัดสินใจในวิชาชีพได้ และเนื้อหารายวิชาได้มุ่งเน้นให้นักศึกษามีทักษะการคำนวณในหน่วยการสอนเรื่องหลักและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ช่วยในการตัดสินใจแต่จากประสบการณ์ที่สอนวิชานี้มาหลายปีพบว่า  นักศึกษา
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องหลักและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ช่วยในการตัดสินใจต่ำ   แม้ว่าได้ให้ความสนใจจัดการเรียนการสอนในเรื่องนี้เป็นพิเศษ ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าสาเหตุอาจมาจากนักศึกษา
ไม่ชอบการคิดคำนวณหรืออาจมาจากวิธีการจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
                        ดังนั้น  เพื่อเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในวิชาการจัดการฟาร์ม และเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 ผู้วิจัยจึงคิดปรับปรุงวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หน่วยการสอน เรื่อง หลักและทฤษฎี
เศรษฐศาสตร์ที่ช่วยในการตัดสินใจ โดยมุ่งจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างบรรยากาศ
ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นผู้เรียนอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้เกิดความกระตือรือร้น   ในการเรียนและมีการแข่งขันกันทำกิจกรรม  โดยคาดว่าการจัดบรรยากาศการเรียนการสอนแบบนี้ จะทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอน วิธีเรียนแบบร่วมมือ รูปแบบ Teams-Games-Tournaments ที่มีต่อผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
วัตถุประสงค์การวิจัย
                        1.  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอน วิธีเรียนแบบร่วมมือ รูปแบบ  Teams-Games-Tournaments 
                        2.  เพื่อศึกษาเจตคติของนักศึกษาต่อวิธีการจัดการเรียนการสอน วิธีเรียนแบบ
ร่วมมือ  รูปแบบ Teams-Games-Tournaments
สุมมติฐานการวิจัย
                        1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ที่เรียนโดยวิธีการจัดการเรียนการสอน วิธีเรียนแบบร่วมมือ รูปแบบ Teams-Games-Tournaments สูงขึ้น
                        2.  นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวิธีการจัดการเรียนการสอน  วิธีเรียนแบบร่วมมือรูป
แบบ Teams-Games-Tournaments
ประโยชน์ของการวิจัย
                        1.  เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาการจัดการฟาร์ม
                        2.  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนวิชาอื่น ๆ ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง
                        3.  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องอื่นๆ
ขอบเขตของการวิจัย
                        1.  ขอบเขตของเนื้อหา  การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอน     วิธีเรียนแบบร่วมมือ รูปแบบ Teams-Games-Tournaments หน่วยการสอน  หลักและทฤษฎี เศรษฐศาสตร์ที่ช่วยในการตัดสินใจวิชาการจัดการฟาร์ม ซึ่งทำการเรียนการสอน เรื่อง กฎผลได้
ลดน้อยถอยลง กฎแห่งการทดแทนกัน กฎค่าเสียโอกาส และหลักการตัดสินใจเรื่องเวลาใน
การลงทุน



                        2.  ขอบเขตของประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับชั้น ปวส.2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง ที่เรียนวิชาการจัดการฟาร์ม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544 จำนวน 25 คน
                        3.  ตัวแปรที่ศึกษา
                             3.1  ตัวแปรต้น คือ วิธีการจัดการเรียนการสอนวิธีเรียนแบบร่วมมือ รูปแบบ Games-Games-Tourments
                             3.2  ตัวแปรตาม คือ
                                    3.2.1  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หน่วยการสอน เรื่อง
หลักและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ช่วยในการตัดสินใจ
                                    3.2.2  ระดับเจตคติของนักศึกษาต่อวิธีการจัดการเรียนการสอนวิธีเรียน
แบบร่วมมือ รูปแบบ Teams-Games-Tournaments
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
                                    1.  วิทยาลัย หมายถึง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง
                                    2.  นักศึกษา หมายถึง นักศึกษา ระดับชั้น ปวส.2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง ที่เรียนวิชา การจัดการฟาร์ม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544
                                    3.  วิชาการจัดการฟาร์ม หมายถึง รายวิชาการจัดการฟาร์มรหัสวิชา  3505-2006  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2540 ประเภทวิชาเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา
                                    4.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักศึกษาทำได้จากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน หน่วยการสอน เรื่อง หลักและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ช่วยในการ
ตัดสินใจ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
                                    5.  เจตคติของนักศึกษา หมายถึง ความพึงพอใจของนักศึกษาในการปฏิบัติของครูและของนักศึกษาเองต่อวิธีการจัดการเรียนการสอนวิธีเรียนแบบร่วมมือรูปแบบ Teams-Games-Tournaments   โดยได้จากการใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อวัดบทบาทของครูและบทบาทผู้เรียน




บทที่  2
เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                        บทนี้กล่าวถึง วิชาการจัดการฟาร์มกับหลักสูตร การจัดการศึกษาตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2540  การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง       การเรียนแบบร่วมมือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Teams-Games-Tournaments         
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วิชาการจัดการฟาร์มกับหลักสูตร
                        หลักสูตรประกาศนียวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2540 ประเภทวิชา
เกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษามี 11 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาช่างกลเกษตร  สาขาวิชาธุรกิจเกษตร สาขาวิชาอุตสาหกรรม
สาขาวิชาการประมง สาขาวิชาสัตวรักษ์ สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
                        วิยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง ได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2540 ประเภทวิชาเกษตรกรรม  3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาพืชศาสตร์  และสาขาวิชาสัตวศาสตร์  ซึ่งแต่ละสาขาวิชาจะมีจุดประสงค์ และโครงสร้าง
หลักสูตร แตกต่างกันไป โดยจุดประสงค์จะเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ทางสาขาวิชานั้น  เช่น สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ มีจุดประสงค์ และโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้ (กระทรวง-
ศึกษาธิการ 2540 : 11-35)
จุดประสงค์
                        1.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ  และประสบการณ์งานทางด้านการเกษตรทั่วไป
                        2.  เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพเกษตร
                        3.  เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
                        4.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ไปประกอบอาชีพได้  ตลอดจนเป็นฐานในการศึกษาระดับที่สูงขึ้น




โครงสร้างหลักสูตร
                        ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช  2540 ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ต้องศึกษารายวิชาในหมวดต่าง ๆ ดังโครงสร้างต่อไปนี้
                        1.  หมวดวิชาพื้นฐาน                                          18  หน่วยกิต
                        2.  หมวดวิชาชีพ                                                 56  หน่วยกิต
                             2.1  วิชาชีพพื้นฐาน  (15  หน่วยกิต)
                             2.2  วิชาชีพเฉพาะ  (25 หน่วยกิต)
                             2.3  วิชาชีพเลือก  (ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)
                             2.4  การฝึกงาน/โครงการ/โครงการวิชาชีพ (4 หน่วยกิต)
                        3.  หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า                          10 หน่วยกิต
                                                รวมไม่น้อยกว่า                           84 หน่วยกิต
                        โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาสัตวศาสตร์จะเหมือนกับสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แต่โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์กำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาต้องศึกษารายวิชาต่าง 
ไม่น้อยกว่า 83 หน่วยกิต โดยต้องศึกษาในหมวดวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 55 หน่วยกิต ส่วน
หมวดวิชาอื่น ๆ เหมือนกับสาขาวิชาสัตวศาสตร์ และเกษตรศาสตร์
                        รายวิชาการจัดการฟาร์ม รหัสวิชา 3505-2006  เป็นวิชาที่มีจำนวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต ซึ่งกำหนดเรียนทฤษฎี 2 คาบ/สัปดาห์  ปฏิบัติ 2 คาบ/สัปดาห์ ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ได้กำหนดให้เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาชีพเฉพาะ สาขาวิชาพืชศาสตร์ กำหนดให้เรียนในหมวดวิชาชีพพื้นฐาน ส่วนสาขาวิชาสัตวศาสตร์ อยู่ในหมวดวิชาเลือกเสรี ซึ่งให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัด และความสนใจ ซึ่งรายวิชานี้มีจุดประสงค์ และคำอธิบายรายวิชา ดังนี้
(กระทรวงศึกษาธิการ  2540 : 187)
จุดประสงค์รายวิชา
                        เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการฟาร์ม สามารถนำความรู้ในด้านการจัดการฟาร์มไปใช้ในการตัดสินใจในวิชาชีพ




คำอธิบายรายวิชา
                        ความหมายและความสำคัญของการจัดการฟาร์ม หลักและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ช่วยในการตัดสินใจ การใช้ปัจจัยการผลิต การคิดค่าเสื่อมราคาหรือค่าสึกหรอ การบันทึกข้อมูลและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์ม การวางแผนและการจัดทำงบประมาณฟาร์ม การวาง
รูปฟาร์ม การประเมินราคาฟาร์ม การนำกรณีตัวอย่างของฟาร์มประเภทต่าง ๆ ที่ประสบผลสำเร็จมาใช้ประกอบศึกษา ปัญหาการจัดการฟาร์มและแนวทางแก้ไข
                        การคำนวณหาระยะการผลิตตามหลักว่าด้วยผลได้ลดน้อยถอยลง คำนวณ
ค่าเสียโอกาส คำนวณหาอัตราทดแทนกันตามหลักว่าด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตทดแทนกัน คำนวณระยะการตัดสินใจในการลงทุนที่เหมาะสม คำนวณค่าสึกหรอ ประเมินราคาฟาร์ม
วางแผนและจัดงบประมาณฟาร์ม วิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์ม  ศึกษากรณีตัวอย่างของ
ฟาร์มที่ประสบความสำเร็จในท้องถิ่น
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542
                   มาตรา 6 หมวด 1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542
(กรมอาชีวศึกษา,...) กำหนดให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์
ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญหา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมใน
การดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และในการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า
ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ
ผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา   ตามมาตรา 30 หมวด 4 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
.. 2542 (กรมอาชีวศึกษา,...)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น