วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

                   ตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                        ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน (..สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้พัฒนาตัวบ่งชี้ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางขึ้น โดยกำหนดตัวบ่งชี้การเรียนของผู้เรียน ข้อ และตัวบ่งชี้การสอนของครู 10 ข้อเป็นเครื่องตรวจสอบว่า เมื่อใดก็ตามที่เกิดการเรียน หรือการสอนตามตัวบ่งชี้เหล่านี้  เมื่อนั้นได้เกิดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลางแล้ว ดังนี้
ตัวบ่งชี้การเรียนของผู้เรียน
                        1.  ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                        2.  ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการตนเอง
                        3.  ผู้เรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
                        4.  ผู้เรียนฝึกคิดอย่างหลากหลายและสร้างสรรค์จินตนาการ ตลอดจนได้แสดงออกอย่างชัดเจนและมีเหตุผล
                        5.  ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นหาคำตอบ แก้ปัญหา ทั้งด้วยตนเอง และร่วมด้วยช่วยกัน
                        6.  ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้า รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
                        7.  ผู้เรียนได้เลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจของตนเองอย่างมีความสุข
                        8.  ผู้เรียนฝึกตนเองให้มีวินัยและมีความรับผิดชอบในการทำงาน
                        9.  ผู้เรียนฝึกประเมิน ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่น ตลอดจนสนใจใฝ่หา
ความรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้การสอนของครู
                        1.  ครูเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ
                        2. ครูจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้า จูงใจ และเสริมแรง ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
3.  ครูเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคล และแสดงความเมตตาผู้เรียนอย่างทั่วถึง
4.  ครูจัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์
5.  ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกทำ และฝึกปรับปรุงตนเอง
6.  ครูส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม พร้อมทั้งสังเกตส่วนดี และ   
ปรับปรุง ส่วนด้อยของผู้เรียน                               
                        7.  ครูใช้สื่อการสอนเพื่อฝึกการคิด การแก้ปัญหา และการค้นพบความรู้
                        8.  ครูใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิตจริง
                        9.  ครูฝึกฝนกิริยามารยาทและวินัยตามวิถีวัฒนธรรมไทย
                      10.  ครูสังเกตและประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง           
นวัตกรรมจัดการเรียนการสอน วิธีเรียนแบบร่วมมือ
                        มีรูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนมากมายหลายวิธีที่ส่งเสริมและให้ความสำคัญ กับผู้เรียนในฐานะศูนย์กลางของการเรียนการสอน ซึ่งครูสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับลักษณะของผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ และเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ การเรียนแบบ
ร่วมมือเป็นนวัตกรรมการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญวิธีหนึ่ง
การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperrative Learning)
                        ไสว ฟักขาว ( 2544  : 192-193) ได้รวบรวมความหมายของการเรียนแบบร่วมมือ ไว้ดังนี้


                        1.  สลาวิน  (Slavin, 1987 : 7 – 13)  ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือว่า  หมายถึง  วิธีการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยทั่วไปมีสมาชิกกลุ่มละ คน  สมาชิกกลุ่มมีความสามารถในการเรียนต่างกัน สมาชิกในกลุ่มจะรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับการสอน และช่วยเพื่อนสมาชิกให้เกิดการเรียนรู้ มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน คือ เป้าหมายของกลุ่ม
                        2.  จอห์นสันและจอห์นสัน (Johnson and Johnson, 1994 : 11-12)  กล่าวว่าการเรียนแบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกันทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายกลุ่ม สมาชิกมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม มีการฝึกและใช้ทักษะการทำงานกลุ่มร่วมกัน  ผลงานของกลุ่มขึ้นอยู่กับผลงานของสมาชิกแต่ละบุคคลในกลุ่ม สมาชิกต่างได้รับรับความสำเร็จร่วมกัน
                        3.  วูลโฟล็ค (Woolforlk, 1993 : 5)  สรุปไว้ว่า  การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็น
การจัดให้นักเรียนที่มีความสามารถต่างกัน ทำงานร่วมกัน และได้รับรางวัลเมื่อกลุ่มทำงานบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย
                        4.  อาเรนดส์ (Arends, 1994 : 3)  กล่าวถึงการเรียนแบบร่วมมือว่า เป็นรูปแบบการสอนที่ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยสมาชิกในกลุ่มมีความสามารถคละกันทั้งสูง กลาง ต่ำ นักเรียนหญิง และชาย มีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ได้รับรางวัลหรือความสำเร็จร่วมกัน
                        5.  ฮูเซน (Husen, 1994 : 15)  กล่าวไว้ในหนังสือ “Encyclopedia of Education”   ว่า  การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการจัดให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ       มีสมาชิกกลุ่มละ คน โดยสมาชิกในกลุ่มมีความแตกต่างกัน วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการแบ่งปันความคิดซึ่งกันและกันในการทำงาน ในการเรียน และมีความรับผิดชอบในกลุ่มด้วย
                        จากความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ดังกล่าว  สรุปได้ดังนี้
                        การเรียนแบบร่วมมือ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้กับผู้เรียน เป็นการผสมผสานระหว่างทักษะของการอยู่ร่วมกันในสังคม กับทักษะด้านเนื้อหาวิชาการต่าง ๆ โดยให้ผู้เรียนได้อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันทำงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยในแต่ละกลุ่มต้องประกอบไปด้วยผู้เรียนที่มีความรู้  ความสามารถแตกต่างกัน เพื่อที่จะให้เด็กเก่งช่วยเหลือเด็กอ่อน ความสำเร็จของบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
บทบาทของครู
                        1.  กำหนดขนาดของกลุ่ม โดยแบ่งเด็กเก่ง ปานกลาง อ่อน อยู่ด้วยกัน (ขนาดของกลุ่มประมาณ 2-6 คน
                        2.  จัดเตรียมแบบฝึก (Work Sheet) เพื่อเตรียมมอบหมายให้กลุ่มทำ
                        3.  ชี้แจงกฎกติกาในการทำงานให้ผู้เรียนทราบ
                        4.  ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของกลุ่มในกรณีที่กลุ่มมีปัญหา
                        5.  วางแผนการวัดผล เช่น ใช้การสังเกต แบบสำรวจตนเอง เป็นต้น
บทบาทผู้เรียน
                        1.  ให้ผู้เรียนที่เรียนเก่งคอยช่วยเหลือผู้เรียนที่เรียนอ่อน
                        2.  แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบตามงานที่ได้รับมอบหมาย
                        3.  รู้จักการทำงานกันเป็นทีม ฝึกทักษะการอยู่ร่วมกัน

                        รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Teams – Games – Tournaments 
                        การจัดการเรียนการสอนแบบ Teames-Games-Tournaments เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการเรียนแบบร่วมมือกันแข่งขันทำกิจกรรม (ไสว ฟักขาว,         
2544 : 215)  และวัฒนาพร  ระงับทุกข์ (2542 : 36) ได้กล่าวว่า  Teams-Games-Tournaments เป็นกิจกรรมที่เหมาะกับการเรียนการสอนในจุดประสงค์ที่ต้องการให้กลุ่มผู้เรียนได้ศึกษาประเด็น หรือปัญหาที่มีคำตอบถูกต้องเพียงคำตอบเดียว หรือมีคำตอบถูกต้องที่ชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับศูนย์นิเทศอาชีวศึกษาภาคใต้ (2544 : 27 – 28) ที่กล่าวว่า Teams-Games-Tournaments เป็น
กิจกรรมที่เหมาะสำหรับการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนเป็นประเด็น หรือการค้นหาความจริง โดยมีขั้นตอน ดังนี้
                        1.  ผู้สอนถ่ายทอดความรู้ใหม่ ๆ ให้ผู้เรียน หรือเนื้อหาที่ต้องสอนในคาบนั้น จะใช้วิธีสอนแบบผู้สอนบรรยายเองหรือให้มีการอภิปรายกันก็ได้
                        2.  แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเท่าๆ กัน โดยสมาชิกภายในกลุ่มจะต้องมีเด็กเก่ง ปานกลาง อ่อน คละกันไปให้เหมือนกันทุกกลุ่ม
                        3.  สมาชิกภายในกลุ่มช่วยกันศึกษาบทบาทเนื้อหาที่ผู้สอนได้นำเสนอ และสมาชิกภายในกลุ่มที่เรียนเก่งให้ช่วยผู้เรียนที่เรียนอ่อน โดยร่วมมือร่วมใจกันสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่ครูนำเสนอ
                        4.  ครูแจกแบบฝึกหัดให้ทุกกลุ่มโดยแบบฝึกหัดที่แจกต้องเหมือนกันทุกกลุ่ม แล้วให้สมาชิกภายในกลุ่มช่วยกันทำแบบฝึกหัดที่แจกให้เสร็จเรียบร้อย โดยสมาชิกภายในกลุ่มต้องแบ่งหน้าที่กันทำดังนี้
                             4.1  อ่านคำถามและทำความเข้าใจสิ่งที่โจทย์ถาม
                             4.2  วิเคราะห์หาแนวทางของคำตอบ
                             4.3  รวบรวมข้อมูลและเขียนคำตอบ
                             4.4  สรุปคำตอบ แล้วตรวจคำตอบ
                             เมื่อผู้เรียนแต่ละคนทำหน้าที่ของตนเสร็จแล้วในแต่ละข้อ เมื่อขึ้นข้อใหม่ให้
ผู้เรียนผลัดเปลี่ยนหน้าที่ทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะทำแบบฝึกหัดครบทุกข้อ แล้วช่วยกันอธิบาย
ทำความเข้าใจกับสมาชิกภายในกลุ่มให้เข้าใจ
                        5.  จัดแข่งขันตอบปัญหา โดยให้สมาชิกภายในกลุ่มของแต่ละกลุ่มที่เป็นเด็กเก่งให้มานั่งด้วยกัน เด็กปานกลางนั่งด้วยกัน และเด็กอ่อนนั่งด้วยกัน สำหรับข้อคำถามที่จะใช้ถามนั้นเป็นเนื้อหาที่ได้เสนอก่อนหน้าและแบบฝึกหัดที่ให้ผู้เรียนลงมือทำภายในกลุ่ม
                        6.  ผู้เรียนแจกซองคำถาม โดยแจกคำถามเหมือนกันทุกโต๊ะ (จำนวนคำถาม จำนวนคน ของแต่ละโต๊ะ จำนวนรอบของการแข่งขัน)  โดยให้สมาชิกภายในโต๊ะผลัดกันทำหน้าที่ โดยมีหนึ่งคนทำหน้าที่อ่านคำถามและให้คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
                             คนตอบถูกคนแรกได้               2  คะแนน
                             คนตอบถูกคนต่อไปได้             1  คะแนน
                             คนที่ตอบผิดได้                                  0  คะแนน
                             เมื่อแต่ละคนทำหน้าที่เสร็จแล้ว เมื่อขึ้นข้อใหม่ให้แต่ละคนผลัดเปลี่ยนหน้าที่กันทำเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบคำถามที่ให้มา  โดยทุกคนจะได้ตอบคำถามเท่ากัน แล้วให้แต่ละคนให้รวมคะแนนของตนเอง  โดยมีเกณฑ์ดังนี้
                             ผู้ที่ได้คะแนนอันดับที่ 1  ได้คะแนนโบนัสเพิ่ม  10  คะแนน
                             ผู้ที่ได้คะแนนอันดับที่ 2  ได้คะแนนโบนัสเพิ่ม    8  คะแนน
                             ผู้ที่ได้คะแนนอันดับที่ 3  ได้คะแนนโบนัสเพิ่ม    6  คะแนน
                             ผู้ที่ได้คะแนนอันดับที่ 4  ได้คะแนนโบนัสเพิ่ม    4  คะแนน
                             ผู้ที่ได้คะแนนดันดับที่ 5  ได้คะแนนโบนัสเพิ่ม    2  คะแนน
                                                        

                        7.  ให้ผู้เรียนกลับมากลุ่มเดิมแล้วนำคะแนนการแข่งขันของแต่ละคนมารวมกัน
เป็นคะแนนของกลุ่ม ทีมที่ได้คะแนนมากที่สุดจะได้รับรางวัล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น