วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                        ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เป็นความสามารถทางการเรียนซึ่งเป็นผลจากการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการ (2521) ได้บัญญัติศัพท์  ผลสัมฤทธิ์การเรียน”  ไว้ในหนังสือประมวลศัพท์ทางการศึกษาว่า ผลสัมฤทธิ์การเรียน  หมายถึง  ความสำเร็จหรือความสามารถในการกระทำใด ๆ ที่ต้องการอาศัยทักษะ หรือ มิฉะนั้นต้องอาศัยความรอบรู้ในวิชาใดโดยเฉพาะ
                        อรวรรณ  เจือจันทร์  (2536 : 6)  ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หมายถึง  ความรู้ ความเข้าใจ และความสำเร็จในการเรียน ซึ่งแสดงออกให้เห็นโดยคะแนนสอบ
                        สนทนา  เขมวิรัตน์ (2542 : 8) ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน     หมายถึง ความรู้ หรือ ความสามารถของบุคคล อันได้จากการเรียนรู้และความสามารถที่นำไปใช้แก้ปัญหา และศึกษาต่อไปได้ ซึ่งสามารถวัดด้วยเครื่องมือทางจิตวิทยา หรือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั่วไป
                        ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                        สุรัตน์  อังกรูวิโรจน์ (2532 : 3-7  อ้างใน สุยิน  รัตนสุกา , 2544 : 10)  กล่าวว่า  ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาจะสูงหรือต่ำไม่ได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบด้านสติปัญญาอย่างเดียว แต่ยังขึ้นกับองค์ประกอบอื่น ๆ ดังนี้
                        1.  ความรับผิดชอบ  ถ้าผู้เรียนเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ที่ตนเป็นอยู่ ย่อมจะส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                        2.  ความวิตกกังวล  สิ่งนี้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างความต้องการทางสังคมกับความต้องการทางสัญชาตญาณ  ซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะไปขจัดความสามรถในการเรียนรู้        ซึ่งจะมีผลกระทบในด้านลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    
                        3.  สภาพของระบบโรงเรียน  การที่นักเรียนต้องอยู่ร่วมกันกับเพื่อนในโรงเรียนมีการทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกัน การเข้ากลุ่ม การยอมรับซึ่งกันและกันทางสังคมจึงเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของนักเรียน ดังนั้นสภาพสังคมของระบบโรงเรียน จึงส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย
                        4.  นิสัยและทัศนคติทางการเรียน มีอิทธิพลโดยตรงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หากนักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อครู โรงเรียนและกระบวนการเรียนการสอน ย่อมก่อให้เกิดแรงจูงใจ
มีความมานะพยายาม ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ
                        5.  องค์ประกอบเกี่ยวกับทางบ้าน  มีความสัมพันธ์หรืออิทธิพลต่อชีวิตของเด็ก    ตั้งแต่เล็กจนโต เด็กจะเป็นคนที่สมบูรณ์เพียงใด มีบุคลิกภาพอย่างไร สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเพียงใดล้วนเกิดจากอิทธิพลทางบ้านทั้งสิ้น  ดังนั้นสภาพแวดล้อมทางบ้านจะมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                        6.  กระบวนการเรียนการสอน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ หลายองค์ประกอบ  ได้แก่ผู้สอน ผู้เรียน โปรแกรมการเรียนการสอน  ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน  องค์ประกอบเหล่านี้จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างดี  จึงทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะตัวผู้เรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะว่าการเรียนการสอนไม่ว่าในระดับใดก็ตามจะดำเนินไปได้ด้วยดี และมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อผู้สอนได้
รู้จักและเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                        อนุสรณ์  สุชาตานนท์  (2536)  ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่สอนโดยการเรียนแบบร่วมมือกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นนักศึกษาปีที่ โรงเรียนเทพลีลา เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 84 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 มีบุคลิกภาพประชาธิปไตยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                        กนกพร  แสงสว่าง  (2541)  ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานร่วมกัน ที่สอนโดยการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิกซอว์กับการสอนปกติ ในรายวิชา ส.305 โลกของเรา  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3  พบว่า  (1)  นักเรียนที่ได้รับการเรียนแบบร่วมมือ  โดยใช้เทคนิคจิกซอว์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2)  นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   ที่ระดับ .01 และ (3)  หลังจากนักเรียนได้รับการสอน  โดยการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์  นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะ การทำงานร่วมกันสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                        สุมาลี  บัวเล็ก  (2541 : บทคัดย่อศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ที่ได้รับการสอนโดยใช้กระบวนการ การเรียนแบบร่วมมือ และการสอนตามคู่มือครู จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2540 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี จำนวน 80 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ใช้รูปแบบศึกษา กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วัดก่อน-หลัง การทดลอง ผู้วิจัยจัดกลุ่มทดลองโดยจัดนักเรียนเข้ากลุ่มโดยมีสมาชิกกลุ่มละ    คน ประกอบด้วย นักเรียนที่มีผลการเรียนแตกต่างกัน คือ เด็กเรียนเก่ง คน เด็กเรียนปานกลาง คน เด็กเรียนอ่อน คน  สำหรับกลุ่มควบคุมจัดนักเรียนเข้ากลุ่มตามความสมัครใจ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่ได้รับการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือกับที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ที่ได้รับการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือกับที่ได้รับการสอนตาม     คู่มือครู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น