วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                        วัฒนาพร  ระงับทุกข์  (2542 : 4-9)  ได้รวบรวมหลักการและแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางไว้ดังนี้
                        การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้าง และพัฒนา ผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัฒน์  เนื่องจากเป็นการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับการเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถ และความต้องการของตนเอง และได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
                        Carl  R.Rogers  คือผู้คิดและใช้คำว่า เด็กเป็นศูนย์กลาง (Child centred) เป็นครั้งแรก ในวิธีการนี้ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมเต็มที่ต่อการเรียนรู้ของตน ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ
                        การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบดังเดิมทั่วไปที่เคยชินกัน ดังนี้

ประเด็น
การเรียนรู้แบบเดิม
การเรียนรู้แบบใหม่
1.  หน่วยการเรียนรู้
คนเดียว
กลุ่ม/เดี่ยว
2.  จุดเน้น
เนื้อหา
เนื้อหา/กระบวนการ
3.  การพัฒนาประสบการณ์
สติปัญญา
ร่างกายอารมณ์ปัญญาสังคม/รู้จักตนเอง ค่านิยม ความเชื่อ
4.  บทบาทผู้เรียน
ฟัง จด จำ สอบ ลืม
มีส่วนร่วม ปฏิสัมพันธ์ ค้นคว้า สรุปด้วยตนเอง กระตือรือร้น
5.  บทบาทครู
สอน บอก บรรยาย สั่ง ประเมิน
อำนวยความสะดวก เป็นแหล่งความรู้ สนับสนุน กระตุ้น
6.  การสื่อสาร
ทางเดียว
สองทาง
7.  บรรยากาศ
เป็นทางการ ปิดกั้น ย้ำสถานภาพครู นักเรียน
ไม่เป็นทางการ ผ่อนคลายสนุกไม่ย้ำสถานภาพ
8.  วิธีการเรียนรู้
ครูตั้งโจทย์ คำถามที่ดีที่สุด
หาทางกระตุ้น สนับสนุนกลุ่มให้คิดคำถามที่ลึกซึ้งและหาทางตอบคำถามนั้น
9.  ผู้รับผิดชอบต่อผลการ
     เรียน
ครู
ผู้เรียนและครู
10.  ผู้ได้รับการสอบสนอง
       ความต้องการ
ครู
ผู้เรียน
11.  การถ่ายโอนการเรียนรู้ไป
      สู่การทำงาน/ชีวิตจริง
น้อยและไม่แน่นอน
มาก
12.  การประเมิน
เนื้อหา
ผลงานและกระบวนการ

                        รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความสนใจ และง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ คือ CIPPA Model ซึ่งมีรายละเอียดของรูปแบบดังนี้
                        C – Consruct คือ การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูล ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ แปลความ ตีความ สร้างความหมาย สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปเป็นข้อความรู้
                        I – Interaction คือ การให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แลกเปลี่ยน และเรียนรู้
ข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน
                        P – Participation คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ ปัญญา และสังคม ในการเรียนรู้ให้มากที่สุด
                        P – Process and Product คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  กระบวนการ และมีผลงานจากการเรียนรู้
                        A – Application คือ การให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ หรือใช้ในชีวิต
ประจำวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น